วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (3 มิติ)


                Google SketchUp (โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ) : โปรแกรมSketchUp เป็นโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Google ชื่อเสียงเรียงนามของผู้พัฒนา ก็คงไม่ต้องบรรยายแล้วว่าดีหรือไม่ดี ที่คราวนี้เข็นเจ้า โปรแกรมออกแบบบ้าน หรือเอาไว้ สร้างโมเดล 3 มิติ ออกมาภายใต้ชื่อ Google SketchUp ออกมาให้คนอยากออกแบบ อยากเล่น อยากลอง อยากฝึกใช้ได้ทดลองใช้ หรือจะให้เด็กๆ ลองใช้ โปรแกรมออกแบบบ้าน ฝึกจินตนาการ ของเด็ก และเยาวชน กับ โปรแกรม SketchUp ตัวนี้ก็ไม่เลว นะ

                 โปรแกรมออกแบบบ้าน ใช้ออกแบบบ้าน แต่จริงๆ ไม่ได้เป็นแค่ โปรแกรมออกแบบบ้าน อย่างเดียวแต่ โปรแกรม Google SketchUp ยังสามารถ ออกแบบงานด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม หรือ เครื่องจักร เครื่องกล กันได้อย่างง่ายๆ แถมเผลอๆ หาก ออกแบบ กันดีๆ ยังเอาไปใช้งานจิงๆ ได้อีกด้วย รวมถึง โปรแกรม SketchUp นี้ยังสามารถนำไป ออกแบบ วัตถุเล็กๆ น้อยๆ อาทเช่น ทั้ง ออกแบบระเบียงบ้าน ออกแบบหน้าต่าง ออกแบบประตู ออกแบบตู้ ออกแบบโต๊ะ ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ งานไม้ งานต่อเติมบ้าน ออกแบบรถ (เหมือนภาพประกอบด้านบน) หรือแม้แต่ ออกแบบยานอวกาศ ในฝัน ยังออกแบบได้ เอากับเค้าสิ จะเป็นยังไงบ้างลองกันเลยครับ

                นอกจากนี้แล้ว Google SketchUp หรือ โปรแกรมออกแบบบ้าน 3 มิติ สร้างโมเดล 3 มิติ ตัวนี้ ยังสามารถส่งออกผลงาน (Export) ที่ออกแบบเสร็จ (วาดเสร็จ) มาในรูปแบบของไฟล์ .BMP, .PNG, .JPG, .TIF สำหรับเวอร์ชั่นฟรี และ ส่งออกเป็นไฟล์ .pdf, .eps, .epx, .dwg, and .dxf. สำหรับเวอร์ชั่นโปร
หมายเหตุ : ตั้งแต่ วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) เป็นต้นมา โปรแกรมGoogle SketchUp ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น โปรแกรมออกแบบบ้าน SketchUp Make หลังถูกบริษัท Trimble ซื้อไปจาก Google Inc. ทำให้เป็น โปรแกรมออกแบบบ้าน ที่เปลี่ยนเจ้าของบ่อยที่สุดนับตั้งแต่เริ่มพัฒนามา

                โดยประวัติของโปรแกรมนี้ เริ่มแรกเดิมทีมาจากบริษัท @Last Software ในปี ค.ศ. 1999 หลังจากนั้นโดน Google Inc. เข้าซื้อในปี ค.ศ. 2006 และก็หลังจากนั้นอีกหกปี ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2012 ทางบริษัท Trimble ซึ่งเป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบ วาดแบบชั้นนำของสหรัญอเมริกา ก็ได้เข้าซื้อโปรแกรม SketchUp มาจาก Google Inc. อีกทีหนึ่ง


ซอฟแวร์ที่ใช้ในงานออกแบบ (2 มิติ)


                LibreCAD (แต่เดิม QCad แล้ว CADuntu) เป็นแหล่งเปิด 2D CADแอพลิเคชันสำหรับ Windows, แอปเปิ้ลและลินุกซ์ มันขึ้นอยู่กับ Qt ซึ่งเป็นผู้นำโปรแกรมข้ามแพลตฟอร์มและกรอบการพัฒนา UI

                LibreCAD สามารถอ่านไฟล์ DWG (และอื่น ๆ ) เป็นของใหม่ล่าสุดสร้างต่อคืน มันเขียนไฟล์ DXF แต่ยังสามารถส่งออก SVG, JPG, PNG, PDF และไฟล์อื่น ๆ มันมีชั้น, บล็อก, เส้นโค้งเส้นเครื่องมือวงรีเส้นสัมผัสขั้นสูงและเครื่องมือวงกลมเครื่องมือการเปลี่ยนแปลงระบบการหักขั้นสูงและอื่น ๆ เพราะ LibreCAD มุ่งเน้นไปที่รูปทรงเรขาคณิต 2D มันเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีน้ำหนักเบาที่มีการติดตั้งน้อยกว่า 30MB

               นี้เป็นเว็บไซต์ชุมชนซึ่งมีเอกสารกึ่งคงที่สำหรับLibreCADผู้ใช้และนักพัฒนา ถ้าคุณหวังว่าคุณจะมีส่วนร่วมกับความพยายามเอกสารนี้โปรดเยี่ยมชมLibreCAD วิกิพีเดีย: พอร์ทัลชุมชนหน้า เนื้อหานี้อยู่ภายใต้ Creative Commons Attribution แบบเดียวกัน


เทคโนโลยีสะอาด


                ความหมายโดยสรุปของเทคโนโลยีสะอาด ก็คือ กลยุทธในการปรับปรุง ผลิตภัณฑ
บริการ และกระบวนการ อยางตอเนื่อง เพื่อจัดการทรัพยากร อยางมีประสิทธิภาพ ให
เปลี่ยนเปนของเสีย นอยที่สุดหรือไมมีเลย การลดมลพิษที่แหลงกําเนิด จึงเปนทั้งการรักษา
สิ่งแวดลอม และการลดคาใชจาย ในการผลิตไปพรอม ๆ กันดวย
หลักการของเทคโนโลยีสะอาด
               เทคโนโลยีสะอาด จะเนนการปองกันและลดมลพิษตั้งแตตน สวนถามีมลพิษหรือของ
เสียก็ดูวาสามารถ การนํากลับมาใชใหม ใชซ้ําไดหรือไม ทายที่สุดจึงนําไป บําบัด ทิ้งทําลาย
อยางถูกตองตอไป ซึ่งลําดับความสําคัญในการจัดการของเสีย
               หลักการของเทคโนโลยีสะอาดแบงออกเปน 2 ดานใหญๆ คือ การลดมลพิษที่
แหลงกําเนิดและการนํากลับมาใชใหม แสดงดังรูปที่ 2
1. การลดมลพิษที่แหลงกําเนิด
การลดมลพิษที่แหลงกําเนิด แบงไดเปน 2 แนวทางใหญๆ คือ การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ
และการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต
1.1 การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ
ทําไดโดยการออกแบบผลิตภัณฑใหมีผลกระทบตอสิ่งแวดลอมนอยที่สุด หรือใหมีอายุ
การใชงานยาวนานขึ้น ลดการใชสารเคมีอันตรายที่มีผลในการผลิต การใชงาน และการทําลาย
หลังการใชงาน เชน ปรับเปลี่ยนสูตรของผลิตภัณฑ เพื่อลดผลกระทบตอสิ่งแวดลอมเมื่อ
ผูบริโภคนําไปใช ยกเลิกการใชชิ้นสวนหรือองคประกอบในผลิตภัณฑที่ไมสามารถนํากลับมาใช
ใหมได และยกเลิกการบรรจุหีบหอที่ไมจําเปน เปนตน
1.2 การปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต
แบงไดเปน 3 กลุม คือ การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และการ
ปรับปรุงกระบวนการใหสะดวก  รวดเร็ว และเกิดของเสียหรือของเหลือใชนอยลง
1.2.1 การปรับเปลี่ยนวัตถุดิบ (Input Material Change)
ทําไดโดยการเลือกใชวัตถุดิบที่มีคุณภาพ หรือมีความบริสุทธิ์สูง
รวมทั้งการลดหรือยกเลิกการใชวัตถุดิบที่เปนอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงการเติมสิ่ง
ปนเปอนเขาไปในกระบวนการผลิต และพยายามเลือกใชวัตถุดิบที่สามารถนํา
กลับมาใชใหมได เชน การไมใชหมึกพิมพที่มีแคดเมียมเปนสารประกอบ การ
ไมใชน้ํายาไซยาไนดในการชุบผิวโลหะ เปนตน
1.2.2 การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยี (Technology Improvement)
ทําไดโดยการออกแบบระบบการผลิตใหม เพิ่มระบบอัตโนมัติเขาไป
ชวยในการผลิต ปรับปรุงคุณภาพของอุปกรณ หรือแสวงหาเทคโนโลยีใหมที่
สามารถชวยใหเกิดของเสียหรือของเหลือจากการผลิตนอยลงมาใช เชน การจัด
วางผังโรงงานใหมที่ชวยลดระยะการเคลื่อนยายวัสดุใหนอยลง การควบคุม
ความเร็วมอเตอรเพื่อควบคุมการสิ้นเปลืองพลังงาน เปนตน ซึ่งเงื่อนไขในการ
นําเทคโนโลยีมาปรับปรุงมีองคประกอบ 5 ประการ (5 M)
1.2.3 การบริหารการดําเนินการ (Operational Management)
ทําไดโดยปรับปรุงวิธีการผลิตเดิมโดยใชเทคนิคการลด การรวม และการทํา
ขั้นตอนการผลิตใหงายขึ้น รวดเร็วขึ้น ซึ่งสงผลทําใหเกิดของเสียจากการผลิต
ลดลง เชน ในกรณีมีผลิตภัณฑหลายแบบ การวางแผนการผลิตที่ดีจะชวยลด
การที่ตองเสียเวลาปรับตั้งเครื่องจักรกอนเริ่มงาน เพราะเปลี่ยนแบบผลิตภัณฑ
เปนตน
2. การนํากลับมาใชใหม 
การนํากลับมาใชใหม แบงออกไดเปน 2 แนวทาง คือ การนําผลิตภัณฑเกากลับมาใช
ใหมหรือการใชผลิตภัณฑหมุนเวียน และการใชเทคโนโลยีหมุนเวียน
2.1 การใชผลิตภัณฑหมุนเวียน
ทําไดโดยการหาทางนําวัตถุดิบที่ไมไดคุณภาพมาใชประโยชน หรือหาทางใช
ประโยชนจากสารหรือวัสดุที่ปนอยูในของเสีย โดยการนํากลับมาใชในกระบวนการผลิต
เดิม หรือกระบวนการผลิตอื่นๆ
2.2 การใชเทคโนโลยีหมุนเวียน
เปนการนําของเสียไปผานกระบวนการตางๆ เพื่อใหสามารถนําเอากลับมา
ใชไดอีก หรือเพื่อทําใหเปนผลพลอยได เชน การนําน้ําหลอเย็น น้ําที่ใชในกระบวนการ
ผลิตหรือตัวทําละลาย ตลอดจนวัสดุอื่นๆ กลับมาใชใหมในโรงงาน การนําพลังงาน
ความรอนสวนเกินหรือเหลือใช กลับมาใชใหม เปนตน
การนําของเสียกลับมาใชใหม (Recycle) ควรจะดําเนินการ ณ จุดกําเนิดของเสียนั้น
มากกวาการขนยายไปจัดการที่อื่น โดยเฉพาะของเสียที่เกิดจากการปนเปอนของวัตถุดิบ เชน
การแยกน้ําเสียดวยไฟฟาเพื่อแยกโลหะ เชน ดีบุก ทองแดง หรือตะกั่ว เพื่อนํากลับมาใชงาน ซึ่ง
จะทําไดงาย และมีประสิทธิภาพสูง รวมทั้งลดอัตราเสี่ยงจากการปนเปอนในระหวางการ
รวบรวมหรือขนถาย เปนตน

ขั้นตอนการดําเนินงานดานเทคโนโลยีสะอาด
วิธีการดําเนินงานดานเทคโนโลยีสะอาดประกอบดวย 5 ขั้นตอน คือ 

ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนและการจัดตั้งทีมงาน (CT Planning & Organization)
การวางแผนและการจัดทีมมีวัตถุประสงคเพื่อจะแสดงความรวมมือในการกําหนด
เปาหมายในการทําเทคโนโลยีสะอาด โดยผูประกอบการสงตัวแทนเขารวมกับอาจารยพี่เลี้ยง
และนิสิตฝกงาน 

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจประเมินเบื้องตน (Pre assessment)
หลังจากที่ไดจัดทีมงานและทราบวัตถุประสงคการทํางานเปนที่เรียบรอยแลว ทีมงานจะ
เริ่มทําการกําหนดขอบเขตการพิจารณาและประเมินเบื้องตนวา ประเด็นใดบางที่เกิดความ
สูญเสียและสามารถปรับปรุงใหดีขึ้นได การประเมินเบื้องตนอาศัยหลักวิชาการประกอบกับ
ประสบการณในทางปฏิบัติของโรงงานในการกําหนดเกณฑการจัดลําดับความสําคัญของแตละ
ประเด็นปญหาที่มีตอสิ่งแวดลอมและเศรษฐศาสตร ผลจากการประเมินนี้จะใชเปนแนวทาง
กําหนดบริเวณหรือทรัพยากรที่จะศึกษาตอไป 

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินละเอียด (Detail assessment)
เมื่อไดประเด็นที่เกิดความสูญเสียสูงและตองการจะปรับปรุงใหดีขึ้นแลว จึงเริ่มทําการ
ประเมินละเอียดโดยจัดทําสมดุลมวลสารและพลังงานเขา-ออก เพื่อใหทราบถึงแหลงกําเนิดของ
ของเสียและสาเหตุของการสูญเสีย จากนั้นจึงทําการวิเคราะหแนวทางในการแกไขปญหาหรือ
เรียกวา ทางเลือกเทคโนโลยีสะอาด (CT option)

ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาความเปนไปได (Feasibility study) การศึกษาความเปนไปไดมีวัตถุประสงคเพื่อลําดับความสําคัญของทางเลือกที่ไดจาก
ขั้นตอนการประเมินละเอียดโดยพิจารณาองคประกอบ 3 ดานคือ ความเปนไปไดทางเทคนิค
หรือความเหมาะสมในการนําทางเลือกไปปฏิบัติ ความเปนไปไดทางเศรษฐศาสตร และความ
เหมาะสมดานสิ่งแวดลอม
ขั้นตอนที่ 5 ลงมือปฏิบัติและติดตามผล (Implementation & evaluation)
การลงมือปฏิบัติตองมีแผนการทํางานโดยละเอียดประกอบดวย บริเวณเปาหมาย
ขั้นตอน ระยะเวลาและผูรับผิดชอบอยางชัดเจน เมื่อดําเนินกิจกรรมไปไดระยะหนึ่งควรติดตาม
ประเมินผลเพื่อใหแนใจวาการปฏิบัติเปนไปตามแผนงานที่กําหนดไวหรือหากมีปญหาจะได
ทบทวนแกไขตอไป

ประโยชนของเทคโนโลยสะอาด
ประโยชน CT ตอตัวเราเอง
- มีสุขภาพแข็งแรง ปลอดจากสารพิษ
- ไดใชสินคาที่มีคุณภาพสูงขึ้น
- มีสภาพแวดลอมและความเปนอยูดีขึ้น
- ประหยัดคาใชจายในการรักษาพยาบาล
- มีความภูมิใจในผลงานที่มีสวนรวมทําใหเกิดสิ่งดีๆ
ประโยชนของเทคโลยีสะอาดตอชุมชน
- มีความสมานสามัคคีกันระหวาง บาน ชุมชน และโรงงานดีขึ้น
- สังคมนาอยู
ประโยชนของเทคโลยีสะอาดตอภาคอุตสาหกรรม
- ชวยทําใหเกิดการประหยัดการใช น้ํา วตถั ดุ ิบ พลังงาน และลดมลพิษ
- การทํางานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพราะคนงาน มีสุขอนามัยดี และลดความเสยงต ี่ อการเก  ิด
อุบัติเหตุ
- คุณภาพสินคามีการปรับปรุง
- เพิ่มประสิทธิภาพและกําไร
- เกิดของเสียนอยลง ลดตนท ุนการบําบัด ลดมลพิษจากอุตสาหกรรม
- ภาพพจนดีขึ้น
ประโยชนของเทคโลยีสะอาดตอภาครฐั
- แบงเบาภาระกิจในการตรวจสอบติดตาม
- บรรลุเปาหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกจและส ิ ังคมแหงชาต ิ
- สงเสริมภาพพจนของประเทศไทยดานการจัดการสิ่งแวดลอมและเพิ่มศักยภาพในการสงออก


5W1H


                  5W1 หนึ่งในเครื่องมือที่ใช้มากที่สุดในระดับสากลสำหรับการรวบรวมข้อมูล,วิเคราะห์และการนำเสนอเป็นกรอบ 5W1H
วิธีนี้จะใช้ในช่วงของกระบวนการนักวิเคราะห์วิศวกรที่มีคุณภาพที่จะเข้าใจและอธิบายความจริงปัญหาใด ๆ หรือปัญหาวิธีการเดียวกันสามารถที่ใช้ในการจัดระเบียบการเขียนของรายงานบทความเอกสารและแม้ทั้งหนังสือ 

วิธีการพื้นฐาน

What.
คือเรื่องหลักของการรวบรวมข้อมูลเหตุผลและการนำเสนอ อาจจะเป็นที่ระบุไว้ในชื่อเรื่องและวัตถุประสงค์ อาจต้องจะกำหนดกระบวนการที่อาจประกอบด้วยส่วนที่เหลือของเอกสาร
Who.
สิ่งแวดล้อมอื่นๆ คนหรือกลุ่มความกังวลมันอาจอธิบายเอกสารหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายการหรือขั้นตอน
When.
หมายถึงเมื่อไหร่ในเวลาใดที่เกี่ยวข้อง มันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งกับจุดที่เหมาะสมที่จะต้องดำเนินการ บางครั้งมันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ของการกระทำตามเงื่อนไข
Where.
เหตุการณ์หรือกระบวนการนั้น เกิดขึ้นที่ไหนเมื่อไหร่
Why.
เหตุใดถึงทำสิ่งนั้นหรือ เพราะเหตุใดถึงเกิดเหตุการณ์นั้นๆ อาจมีการพิจารณาที่ไม่เกี่ยวข้องอาจจะเกิดจากนโยบายหรือขั้นตอน
How.
เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นเป็นอย่างไรบ้าง เมื่ออธิบายนโยบายกระบวนการหรือขั้นตอนอาจ
เป็นส่วนสำคัญที่สุด


ตัวอย่างการออกแบบ


                 การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยมีหลักการ ดังนี้

1. ความเป็นหน่วย (Unity)
ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน

2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing)
เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ

2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry Balancing)
คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา บน-ล่าง เป็นต้น ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย

2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Nonsymmetry Balancing) คือมีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากันแต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัวลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของผู้พบเห็นด้วยซึ่งเป็นความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้ เช่น ใช้ความสมดุลด้วยผิว (Texture) ด้วยแสง-เงา (Shade) หรือด้วยสี (Colour)

2.3 จุดศูนย์ถ่วง (Gravity Balance) การออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วงได้แก่ การไม่โยกเอียงหรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้วผู้ออกแบบจะต้องระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก ตัวอย่างเช่น เก้าอี้จะต้องตั้งตรงยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน การทรงตัวของคนถ้ายืน 2 ขา ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่งและส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่งจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูปได้ถูกต้องเรื่องของจุดศูนย์ถ่วงจึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง

3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity of Arts)
ในเรื่องของศิลปะนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอนเพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน อันได้แก่

3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ (Emphasis or CentreofInterest) งานด้านศิลปะผู้ออกแบบจะต้องมีจุดเน้นให้เกิดสิ่งที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น โดยมีข้อบอกกล่าวเป็นความรู้สึกร่วมที่เกิดขึ้นเองจากตัวของศิลปกรรมนั้นๆ ความรู้สึกนี้ผู้ออกแบบจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นเหมือนกัน

3.2 จุดสำคัญรอง ( Subordinate)
คงคล้ายกับจุดเน้นนั่นเองแต่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับซึ่งอาจจะเป็นรองส่วนที่ 1ส่วนที่ 2 ก็ได้ ส่วนนี้จะช่วยให้เกิดความลดหลั่นทางผลงานที่แสดง ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย

3.3 จังหวะ ( Rhythem)
โดยทั่วๆไปสิ่งที่สัมพันธ์กันในสิ่งนั้นๆย่อมมีจังหวะ ระยะหรือความถี่ห่างในตัวมันเองก็ดีหรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์อยู่ก็ดีจะเป็นเส้น สี เงา หรือช่วงจังหวะของการตกแต่ง แสงไฟ ลวดลาย ที่มีความสัมพันธ์กันในที่นั้นเป็นความรู้สึกของผู้พบเห็นหรือผู้ออกแบบจะรู้สึกในความงามนั่นเอง

3.4 ความต่างกัน ( Contrast)
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวไม่ซ้ำซากเกินไปหรือเกิดความเบื่อหน่าย จำเจ ในการตกแต่งก็เช่นกัน ปัจจุบันผู้ออกแบบมักจะหาทางให้เกิดความรู้สึกขัดกันต่างกันเช่น เก้าอี้ชุดสมัยใหม่แต่ขณะเดียวกันก็มีเก้าอี้สมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ด้วย 1 ตัว เช่นนี้ผู้พบเห็นจะเกิดความรู้สึกแตกต่างกันทำให้เกิดความรู้สึก ไม่ซ้ำซาก รสชาติแตกต่างออกไป

3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies)

ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมดแม้จะมีบางอย่างที่แตกต่างกันการใช้สีที่ตัดกันหรือการใช้ผิว ใช้เส้นที่ขัดกัน ความรู้สึกส่วนน้อยนี้ไม่ทำให้ส่วนรวมเสียก็ถือว่าเกิดความกลมกลืนกันในส่วนรวม ความกลมกลืนในส่วนรวมนี้ถ้าจะแยกก็ได้แก่ความเน้นไปในส่วนมูลฐานทางศิลปะอันได้แก่ เส้น แสง-เงา รูปทรง ขนาด ผิว สี นั่นเอง

การออกแบบ


               การออกแบบ ( Design ) คือศาสตร์แห่งความคิด และต้องใช้ศิลป์ร่วมด้วย เป็นการสร้างสรรค์ และการแก้ไขปัญหาที่มีอยู่ เพื่อสนองต่อจุดมุ่งหมาย และนำกลับมาใช้งานได้อย่างน่าพอใจ ความน่าพอใจนั้น แบ่งออกเป็น 3 ข้อหลักๆ ได้ดังนี้

1. ความสวยงาม เป็นสิ่งแรกที่เราได้สัมผัสก่อน คนเราแต่ละคนต่างมีความรับรู้เรื่อง ความสวยงาม กับความพอใจ ในทั้ง 2 เรื่องนี้ไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ถกเถียงกันอย่างมาก และไม่มีเกณฑ์ ในการตัดสินใดๆเป็นตัวที่กำหนดอย่างชัดเจน ดังนั้นงานที่เราได้มีการจัดองค์ประกอบที่เหมาะสมนั้น ก็จะมองว่าสวยงามได้เหมือนกัน

2. มีประโยชน์ใช้สอยที่ดี เป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานออกแบบทุกประเภท เช่นถ้าเป็นการออกแบบสิ่งของ เช่น เก้าอี้,โซฟา นั้นจะต้องออกแบบมาให้นั่งสบาย ไม่ปวดเมื่อย ถ้าเป็นงานกราฟฟิค เช่น งานสื่อสิ่งพิมพ์นั้น ตัวหนังสือจะต้องอ่านง่าย เข้าใจง่าย ถึงจะได้ชื่อว่า เป็นงานออกแบบที่มีประโยชน์ใช้สอยที่ดีได้

3. มีแนวความคิดในการออกแบบที่ดี เป็นหนทางความคิด ที่ทำให้งานออกแบบสามารถตอบสนอง ต่อความรู้สึกพอใจ ชื่นชม มีคุณค่า บางคนอาจให้ความสำคัญมากหรือน้อย หรืออาจไม่ให้ความสำคัญเลยก็ได้ ดังนั้นบางครั้งในการออกแบบ โดยใช้แนวความคิดที่ดี อาจจะทำให้ผลงาน หรือสิ่งที่ออกแบบมีคุณค่ามากขึ้นก็ได้


กระบวนการเทคโนโลยี




           ในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายตามเงื่อนไขและปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคน ทำให้บางครั้งมนุษย์ต้องพบเจอกับปัญหาหรือความต้องการที่จะทำให้การดำรงชีวิตดีขึ้น เราเรียกว่า “สถานการณ์เทคโนโลยี"

           การพิจารณาว่าสถานการณ์ใดเป็นสถานการณ์เทคโนโลยี จะพิจารณาจาก 3 ประเด็นคือ เป็นปัญหาหรือความต้องการของมนุษย์ เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม หรือเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์

           การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่พบในสถานการณ์เทคโนโลยี จะต้องใช้ทรัพยากร ความรู้และทักษะต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องมีวิธีการหรือกระบวนการทำงานในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างเป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ซึ่งเรียกกระบวนการนั้นว่า “กระบวนการเทคโนโลยี”

          กระบวนการเทคโนโลยี เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์ กระบวนการเทคโนโลยี ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
          ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
ขั้นตอนแรกของกระบวนการเทคโนโลยี คือ การกำหนดปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจหรือวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการหรือสถานการณ์เทคโนโลยีอย่างละเอียด เพื่อกำหนดกรอบของปัญหาหรือความต้องการให้ชัดเจนมากขึ้น
          ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เช่น ศึกษาจากตำรา วารสาร บทความ สารานุกรม สืบค้นจากอินเทอร์เน็ต ระดมสมองจากสมาชิกในกลุ่ม โดยควรมีการรวบรวมข้อมูลรอบด้านให้ครอบคลุมปัญหาหรือความต้องการ ซึ่งจะทำให้เราสามารถสรุปวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ครบถ้วนสมบูรณ์ขึ้น
          ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
การเลือกวิธีการ เป็นการพิจารณาและเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการมากที่สุด โดยใช้กระบวนการตัดสินใจเลือกจากวิธีการที่สรุปได้ในขั้นรวบรวมข้อมูล ประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาคือ ข้อดี ข้อเสีย ความสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ ความประหยัด และการนำไปใช้ได้จริงของแต่ละวิธี เช่น ทำให้ดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วขึ้น นอกจากนี้ควรพิจารณาคัดเลือกวิธีการโดยใช้กรอบของปัญหาหรือความต้องการมาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือก
         ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
การออกแบบและปฏิบัติการเป็นการถ่ายทอดความคิดหรือลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอน เกี่ยวกับวิธีการ แก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด โดยใช้การร่างภาพ 2 มิติ การร่างภาพ 3 มิติ การร่างภาพฉาย แบบจำลอง หรือแบบจำลองความคิด และวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน จากนั้นลงมือสร้างตามแนวทางที่ได้ถ่ายทอดความคิดและวางแผนการปฏิบัติงานไว้ ผลงานที่ได้อาจเป็นชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการ
         ขั้นที่ 5 ทดสอบ
การทดสอบเป็นการตรวจสอบชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการที่สร้างขึ้นว่ามีความสอดคล้อง ตามแบบที่ได้ถ่ายทอดความคิดไว้หรือไม่ สามารถทำงานหรือใช้งานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร หากผลการทดสอบพบว่า ชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการไม่สอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานไม่ได้ หรือมีข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไข จะต้องมีการบันทึกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นข้อมูลที่นำไปสู่การปฏิบัติงานในขั้นปรับปรุงแก้ไขต่อไป
        ขั้นที่ 6 ปรับปรุงแก้ไข
การปรับปรุงแก้ไข เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นทดสอบว่าควรปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการในส่วนใด ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร แล้วจึงดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในส่วนนั้น จนกระทั่งชิ้นงานหรือแบบจำลองวิธีการสอดคล้องตามแบบที่ถ่ายทอดความคิดไว้ ทำงานหรือใช้งานได้ ในขั้นตอนนี้อาจจำเป็นต้องกลับไปที่ขั้นตอนออกแบบและปฏิบัติการอีกครั้งเพื่อถ่ายทอดความคิดใหม่หรืออาจกลับไปขั้นตอนรวบรวมข้อมูลและเลือกวิธีการที่เหมาะสมอีกครั้งก็ได้ เพื่อให้ได้สิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการที่เหมาะสมมากขึ้น
        ขั้นที่ 7 ประเมินผล
การประเมินผล เป็นการนำชิ้นงานหรือวิธีการที่ได้สร้างขึ้นไปดำเนินการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ในขั้นกำหนดปัญหาหรือความต้องการ และประเมินผลที่เกิดขึ้นว่าชิ้นงานหรือวิธีการนั้นสามารถแก้ปัญหาได้หรือไม่ หากผลการประเมินพบว่า ชิ้นงานหรือวิธีการไม่สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการได้ ควรพิจารณาว่าจำเป็นต้องแก้ไขในขั้นตอนใด เพื่อนำไปปรับปรุงตามกระบวนการเทคโนโลยีอีกครั้ง เพื่อทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ


                เทคโนโลยีเป็นความรู้สาขาหนึ่งของมนุษย์ว่าด้วยการประยุกต์ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ทั้งความรู้ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ พลังงาน ทักษะต่าง ๆ ในการคิดแก้ปัญหา ออกแบบและสร้างสิ่งใหม่ ๆ เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ ดังนั้น กระบวนการเทคโนโลยีจึงต้องอาศัยความรู้จากสาขาวิชาอื่น ๆ มาสนับสนุน เช่น ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ช่วยอธิบายหลักทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งต่าง ๆ ความรู้ทางศิลปะช่วยวาดภาพหรือเขียนโครงร่างของสิ่งที่คิดประดิษฐ์ให้เห็นเป็นรูปธรรม หรือความรู้สาขามนุษย์ช่วยให้เข้าใจความต้องการวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ สิ่งเหล่านี้ช่วยสนับสนุนการทำงานทางเทคโนโลยี

ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับมนุษย์ศาสตร์
                 การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีเริ่มจากวิเคราะห์ความต้องการของตน สื่อสารความต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจ และเสนอแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด อ่านและเขียน ลักษณะพฤติกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษาซึ่งเป็นศาสตร์ของมนุษย์ศาสตร์ ดังนี้
1. ทักษะการฟัง พูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางเทคโนโลยีกับคนอื่น ๆ ในการทำกิจกรรม
2. ทักษะการเขียน นำเสนอข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ หรืออธิบายแนวคิดของตน
3. ทักษะการสรุป กิจกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการร่างโครงการและการอธิบายกระบวนการ ทำงานจนได้ชิ้นงาน การเขียนข้อสรุปจึงเป็นสิ่งสำคัญของเทคโนโลยี
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์

                ผู้เรียนต้องเข้าใจประวัติความเป็นมาทั้งอดีตจนถึงปัจจุบันและเทคโนโลยีในอนาคตช่วยสร้างสรรค์มนุษยชาติ จึงต้องให้ผู้เรียนตระหนักถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม โดยกิจกรรมดังนี้
- สำรวจบทบาทเทคโนโลยีต่อสังคม
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สนองความต้องการได้อย่างฉลาด
- เข้าใจข้อจำกัดของปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม ค่านิยม โครงสร้างสังคม โดยนำสิ่งเหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมทางเทคโนโลยี
- วิจัย ศึกษา วิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีในสังคม ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง
- การตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน
- วิจัยศึกษา วิเคราะห์ผลกระทบการใช้เทคโนโลยีต่อสังคม


ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยี


              เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMS หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพธ์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ

             ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจับัน และมีแนวโน้วที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแตการผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่


             ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน
2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
3.การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
4.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
5.ช่วยในการจัระบบอัติโนมัติ เพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใชสารสนเทศ
6.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ

ความหมายของเทคโนโลยี




                เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น

ความสำคัญของเทคโนโลยี

1.เป็นพื้นฐานปัจจัยจำเป็นในการดำเนินชีวิตของมนุษย์
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้าง นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกที่เรียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที่สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์ ที่เข้ามาสู่ทุกประเทศอย่างรวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็อทรอนิกส์ โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and Information หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้พร้อมกัน สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินทได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นเทคโนโลยีกำลังทำโลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ






ค่านิยม 12 ประการ


1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน มีอุดมการณ์ในสิ่งที่ดีงามเพื่อส่วนรวม
3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม
6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์ หวังดีต่อผู้อื่น เผื่อแผ่และแบ่งปัน
7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่ถูกต้อง
8. มีระเบียบวินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ รู้ปฏิบัติตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รู้จักอดออมไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น มีไว้พอกินพอใช้ ถ้าเหลือก็แจกจ่ายจำหน่าย และพร้อมที่จะขยายกิจการเมื่อมีความพร้อม เมื่อมีภูมิคุ้มกันที่ดี
11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออ านาจฝ่ายต่ า หรือกิเลส มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปตามหลักของศาสนา
12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม และของชาติมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
                      
                                                               

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ ภูมิสิทธิ์ กิตติสุรัตน์พงศ์ อายุ 15 ปี เกิดวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2543

ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสราษฎร์พิทยา ชั้นมัธยม 4/4 เลขที่ 14

อาศัยอยู่ที่ 30/4 หมู่ 2 ถ.กาญจนวิถี ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

งานอดิเรก : ทำการบ้าน เล่นเกม ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน

Facebook : tawanzung kittisuratpong